รู้หรือไม่ขายของonline-ตลาดนัดต้องเสียภาษีแบบไหน

การเสียภาษีของ ธุรกิจ ขายของonline- ตลาดนัด

พอได้ยิน คำว่า  ” ภาษี ” ก็คงจะเป็นอะไรที่หน้าปวดหัว

แต่เรา จะแยกออกมาเป็นอย่างๆ ให้ง่ายต่อการเข้าใจกันค่ะ

เริ่มต้น เมื่อเราเปิด ร้านค้า online หรือ เปิดร้านขายของตามตลาดนัดขึ้นมาแล้ว และมีรายได้ขึ้นมา

ผู้ประกอบการจะเกี่ยวข้องกับ การเสียภาษี 2 ประเภท ด้วยกัน

1. ภาษีเงินได้

2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

–ภาษีเงินได้

สำหรับแม้ค้าตลาดนัด แม้ค้าออนไลน์

การยื่นภาษีสามารถหักค้าใช้จ่ายในอัตราเหมาได้ 60 %

ในกรณีมีค่าลดหย่อน 

 

***เฉพาะลดหย่อนส่วนตัว*** 60,000 บาท

จะสามารถนำฐานรายได้มาคำนวณอัตราภาษีคร่าวๆ ได้ดังนี้

-มีรายได้ทั้งปีเกิน 60,000 บาท ถึง 525,049 บาท ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ แต่ไม่มีภาษีต้องเสีย

-มีรายได้ทั้งปี 525,050 บาทขึ้นไป ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ และต้องเสียภาษี เริ่มต้น 1 บาท

-มีรายได้ทั้งปี 1,000,001 บาท ต้องเสียภาษี 11,500 บาท

-มีรายได้ทั้งปี 2,000,000 บาท ต้องเสียภาษี 63,500 บาท

หากมีเอกสารค่าใช้จ่ายจริง เช่น

  • บิลค่าวัตถุดิบ 
  • ต้นทุนการผลิต
  • ต้นทุนสินค้า
  • ค่าขนส่ง
  • ค่าจ้างลูกจ้าง
  • หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขาย
และพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายจริงมากกว่าการหักค่าใช้จ่ายเหมาเมื่อนำไปคำนวณภาษีแล้ว สามารถลดจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียได้
 

–ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากมีรายได้จากการขายทั้งปี 1,800,000 บาทขึ้นไป

ซึ่งรายได้จากการขายนี้ไม่ได้รับยกเว้นจากภาษีมูลค่าเพิ่ม

ก็ต้องยื่นคำขอร้องจดทะเบียนภาษีภาษีมูลค่าเพิ่ม

และยื่นในรูปแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30)

และจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ในกรณีที่มีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ)

  • เมื่ออยากยื่นค่าใช้จ่ายตามจริงเพราะรายจ่ายที่จ่ายจริงจะทำให้เราเสียภาษีน้อยกว่าการที่ยื่นแบบเหมา
  • เมื่อยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ทันแต่อยากทำให้ถูก ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง
  • อยากมีคนคอยให้คำปรึกษา
  • อยากมีผู้ช่วยที่มาแก้ปัญหาให้

–เราช่วยคุณได้–

เรายินดีให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีและภาษี

จะดีกว่าไหมถ้าคุณ

  • ประหยัดเวลา
  • ยื่นค่าใช้จ่ายตามจริงได้
  • ประหยัดภาษีแบบถูกวิธี
  • มีคนคอยให้คำปรึกษา
  • เห็นภาพชัดเจนในกำไร-ขาดทุน

ติดต่อเรา 

ohaccount.com
line ID @117tsnht
080-979-9365
Tags: No tags

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *