อัตราค่าปรับ ยื่นงบการเงินล่าช้า

โดยปกติการยื่นภาษีสามารถทำได้ทั้งที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ซึ่งข้อดีของการยื่นภาษีออนไลน์คือ

จะได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบฯและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน จนบางครั้งเราอาจชะล่าใจ ผลัดวันไปเพราะวันนี้ยังหาเอกสารไม่ครบ วันนี้ติดประชุม หรือสารพัดเหตุผล พอรู้ตัวอีกทีก็เลยกำหนดยื่นภาษีไปเสียแล้ว แล้วอย่างนี้ควรทำอย่างไรดี


“ยื่นภาษีไม่ทันควรทำอย่างไรดี”

ก่อนอื่นอย่าพึ่งตกใจไปครับ เพราะทุกปัญหามีทางออกเสมอโดยสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1. ยื่นภาษีล่าช้า หรือลืมยื่นภาษี

วิธีแก้ : ให้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง และกรอกแบบฟอร์มภาษี นำไปยื่นกระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ให้เร็วที่สุด โดยการยื่นเพิ่มเติม หรือ ยื่นเกินกำหนดเวลาจะไม่สามารถยื่นภาษีผ่านออนไลน์ได้

2. ยังไม่ได้จ่ายภาษี หรือจ่ายน้อยกว่าจำนวนที่ต้องจ่ายจริง

วิธีแก้ : นอกจากจะต้องจ่ายภาษีส่วนที่ค้างอยู่นั้น ท่านอาจจะต้องจ่ายค่าปรับซึ่งเป็นบทลงโทษที่เกิดจากการยื่นภาษีล่าช้า หรือจ่ายภาษีไม่ทันกำหนดอีกด้วย

“บทลงโทษจากการยื่นภาษีล่าช้า จ่ายไม่ทันกำหนด มีอะไรบ้าง”

ในกรณีที่ยื่นภาษีล่าช้า จ่ายภาษีไม่ทัน หรือจ่ายภาษีแต่ไม่ครบ โดยปกติจะต้องมีการจ่าย “เบี้ยปรับภาษี” และ “เงินเพิ่ม” นอกจากนี้อาจมีโทษทางอาญาด้วย เช่น เสียค่าปรับหรือจำคุก แล้วแต่ความผิดว่าเป็นเรื่องร้ายแรงขั้นไหน


ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) เกินกำหนดเวลา

1. ค่าปรับอาญา (จะต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 300 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 500 บาท

2. เงินเพิ่ม

  • เสียเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ไม่รวมเบี้ยปรับ
  • โดยเงินเพิ่มที่เสียต้องไม่เกินจำนวนภาษี
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

3. ค่าเบี้ยปรับ

  • กรณี ยื่นแบบภาษีเพิ่มเติม ค่าเบี้ยปรับคิดเป็น 1 เท่าของเปอร์เซ็นเบี้ยปรับ (หากลืมยื่นภาษีซื้อ ไม่ต้องขอยื่นเพิ่มเติมก็ได้เช่นกัน เพราะสามารถนำมาขอยื่นได้ในเดือนถัดไป ไม่เกิน 6 เดือนของวันที่ตามใบกำกับภาษี)
  • กรณี ไม่ได้ยื่นแบบภาษี ค่าเบี้ยปรับคิดเป็น 2 เท่าของเปอร์เซ็นต์เบี้ยปรับ 
  • ถ้าไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่เสียค่าเบี้ยปรับ แต่ยังคงต้องเสียค่าปรับอาญากรณีไม่ยื่นแบบ 500 บาท
  • ไม่ออกใบกำกับภาษี และส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • ออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออก ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • ไม่เก็บสำเนาใบกำกับภาษีขาย ค่าเบี้ยปรับ 2% ของภาษีตามใบกำกับ
  • ไม่เก็บใบกำกับภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษี ค่าเบี้ยปรับ 2% ของภาษีที่นำมาเครดิต
  • ไม่ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า


ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, 2, 3, 53, 54) เกินกำหนดเวลา

1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 100 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 200 บาท
  • หากผู้จ่ายเงินมีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบฯ เพื่อหลบเลี่ยงการเสียภาษีต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ (มาตรา 37 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร)

2. เงินเพิ่ม 

  • เสียเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม


ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) เกินกำหนดเวลา

โดยปกตินิติบุคคลจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) พร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี) ภายใน 2 เดือน (นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน) แต่หากยื่นไม่ทันจะต้องเสียค่าปรับและเงินเพิ่มดังนี้

1. ค่าปรับอาญา

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 1,000 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 2,000 บาท

2. เงินเพิ่ม 

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 2 วัน เสียเงินเพิ่ม 0.1%
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน เสียเงินเพิ่ม 0.5%
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน จนกว่าจะชำระจนครบ 20% ของเงินภาษีที่ค้างไว้ทั้งหมด 


ภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี (ภ.ง.ด.50) เกินกำหนดเวลา

โดยปกติกำหนดยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 จะต้องยื่นภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี หรือหากยื่นผ่านทางออนไลน์ได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบฯและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน แต่หากยื่นไม่ทันจะต้องเสียค่าปรับและเงินเพิ่มดังนี้

1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 1,000 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 2,000 บาท

2. เงินเพิ่ม 

  • คำนวณจากยอดต้องชำระ * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 จะต้องยื่นพร้อมงบการเงิน แนบประกอบการยื่นแบบดังกล่าว แต่หากทำไม่ทันจริงๆ สามารถยื่นแบบไปก่อนได้แล้วจึงขอยื่นเพิ่มเติมภายหลังให้เร็วที่สุด จะช่วยให้ไม่ต้องเสียค่าปรับอาญา


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90, 91) เกินกำหนดเวลา

1. ค่าปรับอาญา (กรณีไม่ยื่นแบบภาษี) 

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 100 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 200 บาท
  • โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร

2. เงินเพิ่ม 

  • เสียเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

     

หากท่านไม่ต้องการที่จะเสียค่าปรับ เบี้ยปรับ เงินเพิ่มเหล่านี้

ทางที่ดีและง่ายที่สุด คือ วางแผนภาษี และ ยื่นภาษีพร้อมชำระเงินให้ตรงตามเวลาที่กำหนด

ที่มา : www.ztrus.com

ปิดงบการเงิน เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

การปิดงบการเงินสำคัญ

การปิดงบการเงิน เป็นหนึ่งในหน้าที่ของเหล่านิติบุคคลทั้งหลายต้องปฏิบัติ เพื่อจัดส่งงบการเงินให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสรรพากร โดยปกติแล้ว นิติบุคคลอย่างบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น จะต้องปิดงบการเงินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรที่จะต้องมีการจัดหาผู้ทำบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อจัดส่งงบการเงินตามกำหนด ถ้าหากนิติบุคคลนั้นๆ ไม่ทำการส่งงบการเงิน ก็จะต้องมีโทษปรับตามกฎหมาย

ซึ่งการจัดทำงบการเงินนั้นเป็นปัญหาที่หลายๆ บริษัทมักจะพบเจอ โดยเฉพาะบริษัทที่ไม่มีเจ้าหน้าที่บัญชีประจำบริษัท แต่สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเจ้าหน้าที่บัญชีคอยจัดการเกี่ยวกับการปิดงบการเงินนั้น ก็จะเป็นเรื่องง่าย เพราะมีการจัดทำบัญชีอยู่แล้วทุกเดือน แล้วถ้าเป็นบริษัทขนาดเล็กล่ะ เราจะมีวิธีจัดการอย่างไรบ้าง บทความนี้ก็จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าการปิดงบการเงินคืออะไร และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี และจัดทำงบทางการเงินได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

ปิดงบการเงินคืออะไร

“งบการเงิน” คือรายงานทางการเงินและบัญชีเพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของการบริหารงาน ผลดำเนินกิจการ ฐานะทางการเงินของบริษัท ศึกษาข้อมูลและผลกระทบทางเศรษฐกิจและการบัญชีขององค์กร เป็นต้น

ซึ่ง “การปิดงบการเงิน” คือการจัดการกับงบการเงินเมื่อถึงกำหนดสิ้นรอบบัญชี โดยจะต้องจัดทำและส่งงบการเงินไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรตามกำหนด ซึ่งการยื่นงบการเงินประจำปีสามารถยื่นผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ยื่นด้วยตัวเอง หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ก็ได้เช่นกัน

ขั้นตอนปิดงบการเงิน สำหรับธุรกิจที่ไม่เคยบันทึกบัญชีเลยทั้งปี มีดังนี้

อันดับแรก 

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรวบรวมเอกสารทางการเงิน โดยเฉพาะเอกสารรายการค้า ทั้งบิลขายและบิลซื้อ ซึ่งการจัดเรียงเอกสารนั้นจะแตกต่างกัน การจัดเรียงบิลขายของบริษัท ให้จัดเรียงตามลำดับของเลขที่เอกสาร เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบรายการต่างๆ และการจัดเรียงบิลซื้อ ให้จัดเรียงตามประเภทของบิล เช่น บิลสำหรับซื้อสินค้า บิลชำระค่าสาธารณูปโภค บิลค่าน้ำมัน ไปจนถึงบิลค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด

อันดับที่สอง 

กรณีที่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT นั้น จะต้องมีรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขายให้ครบถ้วน กล่าวคือต้องมีการนำเอกสารบิลซื้อและบิลขายมาแนบพร้อมกับรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อยื่นเอกสารต่างๆ ให้ครบตามที่กำหนดเอาไว้

อันดับที่สาม 

ห้ามลืมที่จะตรวจสอบรายการเดินบัญชี หรือ Bank Statement ของบริษัท ว่ามีเอกสารครบถ้วนหรือไม่ ถ้าหากขาดเอกสารของเดือนไหน อย่าลืมที่จะขอรายการเดินบัญชีจากธนาคารมาด้วย

อันดับที่สี่ 

เมื่อมีเอกสารพร้อมแล้ว สิ่งต่อไปที่ไม่ควรลืมเลยคือการติดต่อสำนักงานบัญชีที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อให้จัดทำบัญชีงบการเงินให้ และควรพิจารณาถึงความเรียบร้อยของเอกสารที่ครบ ดูง่าย และมีความเป็นระเบียบ

อันดับที่ห้า 

เมื่อจัดทำงบการเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมที่จะขอข้อมูลจากสำนักงานบัญชีนั้นๆ มาประกอบ ไม่ว่าจะเป็นสมุดรายวันแยกประเภท (G/L) ทะเบียนทรัพย์สิน สมุดรายวันรับ สมุดรายวันจ่าย สมุดรายวันทั่วไป เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลสำหรับองค์กรของคุณ 

และที่สำคัญที่สุด คือ อย่าลืมที่จะส่งงบการเงินที่ทำการปิดงบการเงินเรียบร้อยแล้วให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เพื่อป้องกันการโดนปรับตามกฎหมาย สำหรับบริษัทไหนที่ไม่สามารถเดินทางไปยื่นงบการเงินได้ด้วยตนเอง ก็สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการยื่นงบการเงินออนไลน์ได้ที่ DBD e-Filing ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และจะได้รับการขยายระยะเวลาในการยื่นงบการเงินอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อช่วยเพิ่มระยะเวลาในการจัดทำงบการเงิน และช่วยให้การทำงานนั้นเป็นไปได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ภ.ง.ด. ภาษีเงินได้ มีกี่ประเภท ?

    ผู้เสียภาษี ควรศึกษาความรู้เรื่องภาษีไว้บ้าง เพื่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรได้อย่างถูกต้อง และในวันนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับ ภ.ง.ด. หรือ ภาษีเงินได้ ที่เป็นแบบแสดงรายการภาษีที่เราต้องกรอก แล้วส่งให้แก่สรรพากรเพื่อเป็นหลักฐานการเสียภาษี และจากที่เรารู้กันอยู่แล้วว่าเจ้า ภาษีเงินได้นั้นมีหลากหลายประเภทเหลือเกินนั่นก็เป็นเพราะภาษีเงินได้แต่ละประเภทนั้น ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสถานะที่แตกต่างกันของผู้เสียภาษี ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลนั่นเอง

 ภ.ง.ด. หรือ ภาษีเงินได้ มีกี่ประเภท? แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร? 

ภ.ง.ด. สำหรับ ”บุคคลธรรมดา” มี 4 ประเภท ได้แก่

 

 

 

ภ.ง.ด. 90

 

คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป โดยต้องยื่นภายในมกราคม – มีนาคม ของทุกปี 

 

 

ภ.ง.ด. 91

คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน โดยต้องยื่นภายในมกราคม – มีนาคม ของทุกปี

 

 

ภ.ง.ด. 93

คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการขอชำระภาษีล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบตามปกติ

 

 

ภ.ง.ด. 94

คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้จากการให้เช่า เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา และเงินได้จากธุรกิจเกษตร ขนส่งอุตสาหกรรม โดยมีกำหนดการยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 1 กรกฏาคม ถึง 30 กันยายน ของปีภาษีเดียวกัน

 

 

 

 

ภ.ง.ด. สำหรับ ”นิติบุคคล” แบ่งออกเป็น ภาษีหักเงินได้ ณ ที่จ่าย และ ภาษีนิติบุคคล

 

ภาษีหักเงินได้ ณ ที่จ่าย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

 

 

 

ภ.ง.ด. 1

คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับบุคคล บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน ที่เสียเงินได้ให้แก่ผู้เสียภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดา ในกรณี จ่ายเงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง โบนัส หรือค่านายหน้า ซึ่งในกรณีนี้ผู้ที่เข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ จะต้องยื่นส่ง ภ.ง.ด. 1 เพื่อแจ้งให้กรมสรรพากรทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินให้แก่บุคคลธรรมดา

 

 

 

ภ.ง.ด. 2

คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับบุคคล บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน ในกรณีที่เสียเงินได้ประเภท ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิต่างๆ ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงิน เงินปันผล ซึ่งในกรณีนี้ผู้ที่เข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ จะต้องยื่นส่ง ภ.ง.ด. 2 ให้กรมสรรพากรทราบภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

 

 

 

ภ.ง.ด. 3

คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับบุคคล บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน ในกรณีที่เสียเงินได้ประเภท ค่าเช่าทรัพย์สิน ค่ารับเหมา ค่าบริการ ค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา และค่าขนส่ง ซึ่งผู้ที่เข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ จะต้องยื่นส่ง ภ.ง.ด. 3 ให้กรมสรรพากรทราบภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

 

 

ภ.ง.ด. 53

คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับนิติบุคคลด้วยกันเอง ในกรณีที่เสียเงินได้ประเภท ค่าเช่าทรัพย์สิน ค่านายหน้า ค่าบริการค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา และค่าขนส่ง ซึ่งผู้ที่เข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ จะต้องยื่นส่ง ภ.ง.ด. 53 ให้กรมสรรพากรทราบภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

 

 

ภาษีนิติบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

 

 

 

ภ.ง.ด. 50

คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ โดยการยื่น ภ.ง.ด. 50 จำต้องยื่นภายใน 150 (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม) วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (หากยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตสามารถยื่นเลยกำหนดได้อีกภายใน 8 วัน)ี โดยจะต้องยื่นทุกปี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีรายได้

 

 

 

ภ.ง.ด. 51

คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคล ในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) กล่าวคือ การจ่ายภาษีนิติบุคคลให้แก่กรมสรรพากรก่อนสำหรับกำไรในรอบ 6 เดือนแรก หลังจากนั้นจึงคำนวณค่าภาษีอีกครั้งตอนสิ้นปี โดย ภ.ง.ด. 51 ต้องยื่นภายในระยะเวลา 2 เดือน นับจากวันสุดท้ายของครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

 

 

 

สรุปภาษีนิติบุคคล

ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการจะต้องนำรายได้มาคำนวณในการเสียภาษียื่นเสียภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกเป็นการยื่นเสียภาษีครึ่งปีแรกโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.51 ซึ่งต้องยื่นในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ครั้งที่ 2 จะต้องเสียภาษีเต็มปีโดยใช้แบบภ.ง.ด.50 ซึ่งต้องยื่นภายในเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป

โดยธุรกิจที่เป็น SMEs คือ

1.มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท

 

2.รายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการตลอดทั้งปี (ตามรอบระยะเวลาบัญชี) ไม่เกิน 30,000,000 บาท

อัตรากาษีกิจการ SME

 

ในกรณีที่ไม่เข้าเงื่อนไขทั้ง 2 จะเสียภาษีตามอัตราคงที่ 20% ของกำไรสุทธิตั้งแต่บาทแรก

ในกรณีที่รายได้คำนวณแล้วไม่ถึงฐานที่ต้องเสียภาษีก็จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษี แต่ก็ยังต้องยื่นภ.ง.ด.50

ทางเราอยากบอกว่า ภาษีเป็นเรื่องที่เราต้องใส่ใจอยู่เสมอ เนื่องจากภาษีเป็นสิ่งที่เราต้องวางแผน เพื่อให้เสียภาษีได้อย่างถูกต้อง และเพื่อให้ได้รูปแบบแนวทางที่ประหยัดภาษีสูงสุดโดยเฉพาะภาษี ภ.ง.ด. หรือ ภาษีเงินได้ ที่มีบทบาทต่อพลเมืองในประเทศ ซึ่งอยู่ในสถานะหรือเงื่อนไขใดที่สรรพากรกำหนด

ภาษีหัก ณ ที่ จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย หรือ หัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

ในการทำหัก ณ ที่จ่ายจะต้องรู้ 2 เรื่องคือ

  1. คนรับเงินคือใคร (กระทบต่อแบบที่ยื่น)
  2. จ่ายค่าอะไร (กระทบอัตราภาษีที่หัก)

ทุกครั้งที่ทำการหักไว้ คนที่หักต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่ จ่าย ให้กับคู่ค้าของเราไว้ด้วยทุกครั้ง โดยออกอย่างน้อย 4 ฉบับ คือ ต้นฉบับและสำเนา 2 ฉบับแรกออกให้คู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าเก็บไว้ใช้ขอคืนภาษีฉบับหนึ่ง และเก็บไว้เป็นหลักฐานฉบับหนึ่ง ส่วนฉบับที่ 3 และ 4 เราเก็บไว้เอง โดยฉบับที่ 3 เอาไว้สำหรับส่งภาษี (โดยปกติก็จะส่งฉบับนี้ให้กับสำนักงานบัญชีเป็นผู้ทำให้) และฉบับที่ 4 เราเก็บไว้เป็นหลักฐาน

 

ค่าใช้จ่ายที่ต้องทำการ หัก ณ ที่จ่าย มีอะไรบ้าง

หัก 1% สำหรับค่าขนส่ง

ทุกๆ ครั้งที่มีการขายของและขนส่ง โดยที่บริษัทหรือนิติบุคคลที่ให้บริการจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง เช่น บริการขนส่งสินค้าจากบริษัท โลจิสติกส์ เป็นต้น จะต้อง หัก ณ ที่จ่าย 1% แต่ถ้าคุณยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ยังไม่ต้องหัก

 

แต่! ถ้าเป็นไปรษณีย์ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย เพราะเป็นหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้น 

หัก 2% สำหรับค่าโฆษณา

การโฆษณาสินค้าตามสื่อโฆษณาต่างๆ ผ่านเอเจนซี บริษัทรับโฆษณา เพื่อช่วย “ประกาศ” ให้แบรนด์หรือสินค้าเป็นที่รู้จักผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ หรือช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram ที่ไม่ใช่บริการด้านการตลาด ทำหัก ณ ที่จ่าย 2%

 

ส่วนบริการด้านการตลาดคือ การจ้างบล็อกเกอร์รีวิวโฆษณาสินค้า จ้างมาร์เก็ตติ้ง Consult ด้านการตลาดให้ หรือบริการทำ roll-up ป้ายออกบูท (อันนี้ถือเป็นการรับจ้างทำของ) จะต้องหัก 3%

หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการต่างๆ

ค่าบริการที่เกิดขึ้นในกิจการทุกอย่างจะต้องมีการ หัก ณ ที่จ่าย 3% เช่น บริการรับจ้างทำของ จ้างทำนามบัตร จ้างทำกราฟิก จ้างช่างภาพมาถ่ายรูป จ้างบล็อกเกอร์รีวิวสินค้า จ้างตกแต่งภายใน บริการสถานที่ ซอฟต์แวร์ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต ก็เข้าข่ายนี้ เพราะถือเป็นการให้บริการ

หัก 5% สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์

คนที่ไม่มีสถานที่เป็นของตนเอง หากจะดูว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าบริการให้ดูจากสิทธิในการถือกุญแจ ถ้าเช่าสถานที่เพื่อจัดสัมมนา หรือจัดอีเวนต์ชั่วคราวถือเป็นค่าบริการ ทำหัก ณ ที่จ่าย 3% แต่ถ้าเราถือกุญแจจะถือเป็นค่าเช่าสถานที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายจากเจ้าของที่ดิน 5%

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกที่ต้องหัก 5% เช่น เช่ารถยนต์ ค่าจ้างนักแสดง ดารา นักร้อง อาชีพเพื่อการบันเทิง และเงินรางวัลจากการแข่งขันหรือการชิงโชคต่างๆ ด้วย

แต่! ถ้าเช่ารถยนต์พร้อมคนขับด้วย เราถือกุญแจรถก็จริง แต่จะถือว่าเป็นการบริการ เพราะมีคนขับรถให้ต้องทำหัก ณ ที่จ่าย 3%

ไม่หัก สำหรับยอดที่ไม่เกิน 1,000 บาท

สำหรับยอดเล็กๆ ที่ไม่ถึง 1,000 บาท เช่น จ้างทำรูป หรือนามบัตรเพียงครั้งเดียว ทางกรมสรรพากรมีข้อกำหนดว่าไม่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย


แต่! ยอดที่มีมูลค่าไม่ถึง 1,000 บาท ที่มีสัญญาต่อเนื่อง เช่น ค่าบริการโทรศัพท์รายเดือน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เพราะยอดทั้งปีเกิน 1,000 บาท

รู้จักกับ ผู้สอบบัญชี

เรามาเปิดใจทำความรู้จัก "ผู้สอบบัญชี" อาชีพที่หลายๆคนอยากเป็น

    ผู้สอบบัญชี หรือผู้ตรวจสอบบัญชี (auditor) คงเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่หลายๆ คนใฝ่ฝันกันใช่ไหมล่ะ? เพราะอาจจะคิดว่าค่าตอบแทนที่ได้รับนั้นสูง

ซึ่งแน่นอนว่าโลกนี้ไม่ได้มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ กว่าจะได้เงินเดือนที่สูงในสายอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชีนั้น จะต้องเจออะไรบ้าง ยากเย็นสักแค่ไหน เราลองไปตามดูกันดีกว่า

ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ทำอะไรบ้างในแต่ละวัน 

   งานของผู้สอบบัญชีคือ ตรวจสอบเอกสารการบัญชีของแต่ละบริษัทที่ว่าจ้าง มานั่งวิเคราะห์เอกสารการบัญชี ตรวจเช็กความถูกต้องของข้อมูลที่ไปสำรวจมา

วิเคราะห์ว่าสมควรให้ผ่านการประเมินหรือไม่ ดูจากเกณฑ์ที่ตั้งเป้าหมายไว้ ถ้าไม่ผ่านก็ส่งเอกสารไปเพื่อให้ปรับปรุงแก้ไข แต่ถ้าผ่านให้เซ็นรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชี เป็นอันจบงาน

สายบัญชีควรที่จะจบคณะบัญชี

   อันดับแรกก่อนที่จะเริ่มต้นเส้นทางของผู้สอบบัญชี คือต้องจบคณะบัญชีเพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการทำงานก่อน เพราะหากไปเรียนคณะอื่นมา

อาจจะไม่ได้เรียนรู้รายละเอียดในเรื่องของการทำบัญชีหรือข้อมูลตัวเลขเชิงลึกเท่าไหร่นัก ทำให้การเริ่มต้นสายงานนี้ยากเป็นเท่าตัวเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่จบคณะบัญชีมาโดยตรง 

เราคิดว่าตัวเองเหมาะที่จะเป็นผู้สอบบัญชีไหม? 

   บุคลิกนิสัยของคนที่เหมาะกับอาชีพผู้สอบบัญชี จะต้องเป็นคนที่มีสมาธิในการทำงานเป็นอย่างมาก อีกทั้งต้องเป็นคนที่ละเอียดรอบคอบ สามารถทำสิ่งเดิมๆ ได้หลายครั้ง

เพราะเนื้องานของผู้สอบบัญชีนั้นจะเป็นงานที่ต้องใส่ความละเอียดเป็นอย่างมาก ทบทวนตัวเลขวนไปวนมาจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีอะไรผิดพลาด ซึ่งแน่นอนว่าความอดทนและความแม่นยำก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณต้องมี

หากคิดที่จะเป็นผู้สอบบัญชีฝีมือดีจนหลายคนต้องการตัว

ความก้าวหน้าของสายงานผู้สอบบัญชี

   ก้าวแรกคือการเป็นผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ก้าวต่อไปคือการเป็นผู้สอบบัญชีอย่างเต็มตัว หรือที่เรียกว่า C.P.A ซึ่งการที่จะก้าวขึ้นมาเป็น C.P.A ได้นั้น ต้องมีการสอบ การเก็บชั่วโมงงานตามที่สภาวิชาชีพบัญชีฯ กำหนด

ซึ่งขอบอกเลยว่าไม่ได้ง่ายอย่างที่ใครหลายคนคิด แต่ถ้าหากได้เป็นผู้สอบบัญชีเต็มตัวแล้วล่ะก็ คุ้มค่ากับความพยายามแน่นอน เพราะหลายๆ บริษัทต่างต้องพึ่งพาลายเซ็นของผู้สอบบัญชี

จึงทำให้หน้าที่การงาน รายได้ ประสบการณ์ จะเพิ่มทวีคูณไปอย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับอาชีพอื่นๆ ที่ระยะเวลางานไล่เลี่ยกัน 

ประเภทของลูกค้าที่ผู้ตรวจสอบบัญชีต้องเจอ

   หากคุณกำลังคิดว่าผู้ตรวจสอบบัญชีคงได้เจอแต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ คุณคิดผิด เพราะกลุ่มของลูกค้าที่ว่าจ้างผู้สอบบัญชีนั้นมีหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นสายธุรกิจต่างๆ สายอุตสาหกรรม สายแฟชั่น สายประกันธนาคาร

หรือแม้แต่สายงานบริการ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาผู้สอบบัญชีทั้งสิ้น ฉะนั้นผู้สอบบัญชีจึงได้มีโอกาสที่จะได้พบเจออะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา ไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เหมือนที่ใครหลายคนว่า

 

แต่ไม่ว่าจะเป็นผู้สอบบัญชีหรืออาชีพไหนๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีเสน่ห์ของตัวเองอยู่แล้ว

ยิ่งถ้าใครมีใจรักในตัวเลขและการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ‘ผู้สอบบัญชี’ คงจะเป็นอีกหนึ่งในอาชีพที่ตอบโจทย์ให้ชีวิตการทำงานของคุณมีความสุขเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

จดบริษัท ดีหรือไม่

จดบริษัท ดี หรือ ไม่ ?

ก่อนที่จะตัดสินใจ จดทะเบียนบริษัทควรตั้งคำถาม 3 ข้อนี้เพื่อถามตัวเอง 

  • ทุกวันนี้รู้ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย และกำไรที่แท้จริงไหม เพราะตรงนี้คือประเด็นสำคัญในการตัดสินใจ เพราะมันมีผลในเรื่องของภาษีที่แต่ต่างกันระหว่าง ภาษีบุคคลและภาษีนิติบุคคล
  • มั่นใจกับความมั่นคงก้าวหน้าของธุรกิจหรือเปล่า เพราะเราจะได้ประโยชน์มากกว่าหากจดบริษัท
  • มีคนช่วยเหลือหรือพร้อมสนับสนุนหรือไม่ เพราะธุรกิจยิ่งใหญ่ ทีมงานคือสิ่งสำคัญ ทั้งในด้านบัญชี การวางแผนภาษี การปิดงบประจำปี

เมื่อคุณตอบคำถามเหล่านี้ได้ ต่อไปเรามาเช็คสัญญาณในการทำธุรกิจของคุณกันค่ะ 

-ธุรกิจของคุณต้องการความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

ถ้าหากว่าคุณต้องติดต่อรับงานต่อจากบริษัทรายใหญ่ สิ่งที่สำคัญนั้นก็คือการดำเนินการเรื่องเอกสารที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือไม่ว่าจะเป็นใบเสนอราคา ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ซึ่งการจดทะเบียบบริษัทนั้นก็จะทำให้คุณสามารถออกเอกสารเหล่านี้ให้กับบริษัทคู่ค้าของคุณได้อย่างถูกต้อง

การติดต่อประสานงานกับลูกค้า จะมีความหน้าชื่อถือมากขึ้นกว่าในนามบุคคลธรรมดา เพราะการจดบริษัทชัดเจน ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ถึงการมีตัวตนของเรา กับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า(DBD)

ถ้าหากคุณมีแผนที่จะขยายกิจการในอนาคต การจดทะเบียนบริษัทเร็วเท่าไหร่ยิ่งส่งผลดีกับตัวคุณ เพราะในเรื่องของอายุบริษัทก็มีผลต่อความหน้าเชื่อถือและความมั่นคงที่ลูกค้ามองเห็น

 

ติดต่อเรา

ohaccount.com
line ID @117tsnht
080-979-9365

รู้หรือไม่ขายของonline-ตลาดนัดต้องเสียภาษีแบบไหน

การเสียภาษีของ ธุรกิจ ขายของonline- ตลาดนัด

พอได้ยิน คำว่า  ” ภาษี ” ก็คงจะเป็นอะไรที่หน้าปวดหัว

แต่เรา จะแยกออกมาเป็นอย่างๆ ให้ง่ายต่อการเข้าใจกันค่ะ

เริ่มต้น เมื่อเราเปิด ร้านค้า online หรือ เปิดร้านขายของตามตลาดนัดขึ้นมาแล้ว และมีรายได้ขึ้นมา

ผู้ประกอบการจะเกี่ยวข้องกับ การเสียภาษี 2 ประเภท ด้วยกัน

1. ภาษีเงินได้

2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

–ภาษีเงินได้

สำหรับแม้ค้าตลาดนัด แม้ค้าออนไลน์

การยื่นภาษีสามารถหักค้าใช้จ่ายในอัตราเหมาได้ 60 %

ในกรณีมีค่าลดหย่อน 

 

***เฉพาะลดหย่อนส่วนตัว*** 60,000 บาท

จะสามารถนำฐานรายได้มาคำนวณอัตราภาษีคร่าวๆ ได้ดังนี้

-มีรายได้ทั้งปีเกิน 60,000 บาท ถึง 525,049 บาท ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ แต่ไม่มีภาษีต้องเสีย

-มีรายได้ทั้งปี 525,050 บาทขึ้นไป ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ และต้องเสียภาษี เริ่มต้น 1 บาท

-มีรายได้ทั้งปี 1,000,001 บาท ต้องเสียภาษี 11,500 บาท

-มีรายได้ทั้งปี 2,000,000 บาท ต้องเสียภาษี 63,500 บาท

หากมีเอกสารค่าใช้จ่ายจริง เช่น

  • บิลค่าวัตถุดิบ 
  • ต้นทุนการผลิต
  • ต้นทุนสินค้า
  • ค่าขนส่ง
  • ค่าจ้างลูกจ้าง
  • หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขาย
และพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายจริงมากกว่าการหักค่าใช้จ่ายเหมาเมื่อนำไปคำนวณภาษีแล้ว สามารถลดจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียได้
 

–ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากมีรายได้จากการขายทั้งปี 1,800,000 บาทขึ้นไป

ซึ่งรายได้จากการขายนี้ไม่ได้รับยกเว้นจากภาษีมูลค่าเพิ่ม

ก็ต้องยื่นคำขอร้องจดทะเบียนภาษีภาษีมูลค่าเพิ่ม

และยื่นในรูปแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30)

และจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ในกรณีที่มีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ)

  • เมื่ออยากยื่นค่าใช้จ่ายตามจริงเพราะรายจ่ายที่จ่ายจริงจะทำให้เราเสียภาษีน้อยกว่าการที่ยื่นแบบเหมา
  • เมื่อยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ทันแต่อยากทำให้ถูก ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง
  • อยากมีคนคอยให้คำปรึกษา
  • อยากมีผู้ช่วยที่มาแก้ปัญหาให้

–เราช่วยคุณได้–

เรายินดีให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีและภาษี

จะดีกว่าไหมถ้าคุณ

  • ประหยัดเวลา
  • ยื่นค่าใช้จ่ายตามจริงได้
  • ประหยัดภาษีแบบถูกวิธี
  • มีคนคอยให้คำปรึกษา
  • เห็นภาพชัดเจนในกำไร-ขาดทุน

ติดต่อเรา 

ohaccount.com
line ID @117tsnht
080-979-9365

“ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง”

ในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสำนักงานเขตจะมีการออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและจะแจ้งการประเมินภาษีให้ผู้เสียภาษีทราบ เพื่อให้ผู้เสียภาษีได้ชำระภาษีภายในเดือนเมษายน 2565

ซึ่งเมื่อได้รับหนังสือแจ้งแล้วเราควรตรวจสอบอัตราภาษีและประเภทของการใช้ประโยชน์ หากพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง เช่น ประเมินบ้านซึ่งเป็นที่พักอาศัยเป็นการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เราสามารถใช้สิทธิ์คัดค้านการประเมินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฯ เพราะถ้าหากไม่มีการคัดค้านการประเมินภายในกำหนดเวลาจะถือว่ายอมรับการประเมินของเจ้าพนักงานและต้องเสียภาษีที่ดินตามประเภทของการใช้งานที่ระบุไว้

สำหรับอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2565-2566 ทางกระทรวงการคลังได้ออกมาเปิดเผยว่าจะไม่พิจารณาปรับลดภาษีฯ อย่างในช่วงปี 2563 – 2564 ​ที่ผ่านมาที่ได้ปรับลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90%

โดยอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565-2566 จะคงอัตราภาษีในอัตราเดิมเท่ากับปี 2563-2564 แต่จะไม่มีการลดอัตราภาษีเหลือ 10% จึงทำให้จำนวนภาระภาษีที่ต้องเสียจะสูงกว่าในปี 2563-2564 

ข้อแตกต่างของบริษัทจำกัด และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด

1.จำนวนร่วมลงทุน (จำนวนผู้ถือหุ้น หรือผู้ก่อตั้ง)

  • บริษัทจำกัด : จะต้องมีผู้ร่วมลงทุน หรือผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คน
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด : จะต้องมีผู้ร่วมลงทุนหรือหุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป

2.การลงทุน

  • บริษัทจำกัด : การลงทุนสำหรับการจดทะเบียนบริษัทนั้น จะเป็นลักษณะของ ทุนเรือนหุ้น (Capital stock) โดยที่ผู้ลงทุนจะต้องแบ่งทุนออกเปนหุ้น แต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่าๆกัน (มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท) และจะต้องเป็นการลงหุ้นด้วยเงินเท่านั้น
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด : สามารถลงทุนด้วยเงินทรัพย์สินและแรงงาน เป็นทุนจดทะเบียนได้

3.ความรับผิดในหนี้สิน

  • บริษัทจำกัด : เนื่องจากความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด ผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุนจะรับผิดชอบเฉพาะเงินลงทุนในหุ้นที่ยังไม่ได้ชำระเท่านั้น
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด : จะแบ่งความรับผิดชอบออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

3.1หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบ (หุ้นส่วนผู้จัดการ) รับผิดชอบไม่จำกัดจำนวน

3.2หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบ (หุ้นส่วนทั่วไป) รับผิดชอบเท่าจำนวนหุ้นที่ลงไป

 

4.การประชุมสามัญประจำปี

  • บริษัทจำกัด : จะต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นทุกปี
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด : ไม่ต้องประชุมหุ้นส่วนประจำปี (ก็ได้)

5.การปิดงบประจำปี

  • บริษัทจำกัด : ผู้ที่สามารถเซ็นปิดงบได้ จะต้องเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ (CPA) เท่านั้น
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด : ผู้ที่สามารถเซ็นปิดงบ จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ก็ได้

 

 

ข้อดี

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

  • ระดมทุนจากแหล่งอื่นได้ง่าย มั่นคงและน่าเชื่อถือกว่าเจ้าของคนเดียว
  • การจัดตั้งไม่ยุ่งยาก การรวมหุ้นมีสัญญาต่อกันที่ไม่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
  • หุ้นส่วนที่รับผิดชอบไม่จำกัดต้องเอาใจใส่การดำเนินงานคล้ายกิจการของตนเอง มีอิสระในการบริหาร
  • เมื่อปิดรอบงบการเงิน สามารถหาผู้เซ็นรับรองงบการเงินได้ง่าย เพราะจะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ก็ได้
  • ขั้นตอนการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนทำได้ง่าย

บริษัทจำกัด

  •  มีสภาพเป็นนิติบุคคล มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน มีสิทธิ์ดำเนินคดีในนามบริษัท
  •  บริษัทสามารถหาทุนเพิ่มได้โดยการขายหุ้น
  •  ผู้ถือหุ้นสามารถขายหรือโอนหุ้นให้กับคนอื่นได้
  •  กรณืผู้ถือหุ้นตาย ล้มละลาย หรือศาลมีคำสั่งให้ออกจากผู้ถือหุ้น บริษัทยังสามารถดำเนินกิจการต่อได้
  •  มีความน่าเชื่อถือกว่าการจัดตั้งโดยเจ้าของคนเดียว หรือห้างหุ้นส่วน การเพิ่มทุนสามารถทำได้โดยการจดทะเบียนเพิ่มทุนและออกหุ้นขาย

 

 

ข้อเสีย

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

  •  มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น
  •  ถอนเงินทุนออกได้ยาก
  •  อายุธุรกิจถูกจำกัดด้วยชีวิตของผู้เป็นหุ้นส่วน
  •  หุ้นส่วนก่อหนี้สินได้ไม่จำกัด
  •  อาจเกิดความขัดแย้งในหมู่ผู้ร่วมหุ้น
  •  ไม่จำกัดความรับผิดชอบของหุ้นส่วน ทำให้ไม่กล้าเสี่ยงขยายกิจการ

บริษัทจำกัด

  •  ขั้นตอนในการจัดตั้งยุ่งยาก และหน่วยงานรัฐดูแลเข้มงวด
  •  เมื่อปิดรอบงบการเงิน สามารถหาผู้เซ็นรับรองงบการเงินได้ง่าย เพราะจะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) เท่านั้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบริหารสูงกว่า
  •  ต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป
  •  ความลับเปิดเผยได้ง่าย
  •  บางครั้งบริษัทอาจต้องจ้างมืออาชีพจากภายนอกเข้ามา ทำให้ขาดความตั้งใจ ซื่อสัตย์ และเสียสละ
  •  ขั้นตอนการจดทะเบียนเลิกบริษัททำได้ยากกว่า

 

สำหรับเรื่องภาษี อัตราภาษีอากร และการวางแผนภาษี ระหว่างบริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นประเด็นที่ผู้ประกอบการบางคน (หรือหลาย ๆ คน) กำลังอาจจะคิดว่า จะเลือกจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เพื่อช่วยวางแผนภาษีในรูปแบบไหนจะมีความได้เปรียบ หรือเสียเปรียบมากกว่ากันนั้น ถือเป็นความคิดที่ชาญฉลาดที่คิดถึงตั้งแต่ลำดับต้น ๆ เป็นสิ่งที่ดี แต่สำหรับในที่นี้เมื่อจดทะเบียนในรูปนิติบุคคลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ขอบอกเลยว่า จะไม่มีความแตกต่างกันครับ